โปรโมชั่นพิเศษสุดๆ @ บ้านศิริพร รีสอร์ท เพียง 1,500 บาท/คืน (ปกติ 1,700 บาท) สำหรับ 2 ท่าน รวมอาหารเช้า ฟรี Wi-Fi
ติดต่อสอบถามและจองห้องพัก โทร. 083-155-2929 หรือ LINE ID: @BaanSiriporn

ตลาดน้ำอัมพวา หรือ ตลาดน้ำยามเย็น : Amphawa Floating Market ตลาดน้ำอัมพวา (Amphawa Floating Market)

ตลาดน้ำยอดฮิต!! ถือได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของจังหวัดสมุทรสงคราม ตลาดริมคลองอัมพวาแห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้วัดอัมพวันเจติยาราม (จอดรถที่วัดอัมพวันเจติยารามได้) ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ ในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ช่วงเวลา 12.00 น. – 20.00 น. ในคลองอัมพวาจะมีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือขายอาหารและเครื่องดื่ม เช่น หอยทอด ก๋วยเตี๋ยว อาหารทะเล กาแฟ โอเลี้ยง ขนมหวานต่าง ๆ และมีรถเข็นขายของบนบกด้วย บรรยากาศสบาย ๆ มีดนตรีเพื่อความเพลิดเพลินจากเสียงตามสายของชุมชนอัมพวา ท่านสามารถเดินเที่ยวชมตลาดหาซื้ออาหารรับประทาน และลงเรือไปชมหิ่งห้อยในยามค่ำคืนได้ ค่าบริการท่านละ 60-80 บาท

เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 7.9 km หรือ 14 นาที

 

ชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน : Firefly watching at night ล่องเรือชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน (Firefly watching at night)

กิจกรรมยอดนิยม! ทิ้งถ่วง หรือ หิ่งห้อย เป็นชื่อเรียกแมลงปีกแข็ง ทั่วทั้งโลกมีทิ้งถ่วงประมาณ 2,000 ชนิด นับว่าเป็นแมลงที่มีคุณลักษณะพิเศษ คือสามารถบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์และสมดุลของธรรมชาติได้ อีกทั้งยังมีมีแสงเรือง ๆ ที่ก้น ด้วยเหตุนี้นักท่องเที่ยวที่มายังจังหวัดสมุทรสงคราม จึงนิยมล่องเรือไปตามแหล่งธรรมชาติริมน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ เช่น ต้นลำพูที่อยู่ตามริมแม่น้ำ เพื่อดูแสงไฟของเจ้าแมลงหิ่งห้อยเหล่านี้ นับว่าเป็นกิจกรรมที่พลาดไม่ได้จริง ๆ ท่านสามารถไปล่องเรือชมหิ่งห้อยในยามค่ำคืนได้ โดยขึ้นเรือจากท่าเรือที่ตลาดน้ำอัมพวา ค่าบริการท่านละ 60-80 บาท หรือหากมาเป็นหมู่คณะ สามารถติดต่อเช่าเรือเหมาลำจากทางรีสอร์ทได้ โดยจะขึ้นเรือจากท่าน้ำหน้ารีสอร์ทกันเลย

รายละเอียดแพ็คเกจล่องเรือชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน คลิกที่นี่

 

วัดอัมพวันเจติยาราม : Wat Amphawan Chetiyaram Temple วัดอัมพวันเจติยาราม (Wat Amphawan Chetiyaram Temple)

วัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง อยู่ใกล้กันกับอุทยาน ร.๒ และตลาดน้ำอัมพวา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังวัดแห่งนี้เคยเป็นนิวาสสถานเก่าของหลวงยกกระบัตร (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และ คุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 เชื่อกันว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันเจติยาราม เดิมเป็นเรือนที่คุณนาคใช้เป็นที่คลอดคุณฉิมบุตรชาย ซึ่งต่อมาได้เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 8.6 km หรือ 15 นาที

 

 

อุทยาน รัชกาลที่ 2 (สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) : King Rama II Memorial Park อุทยาน รัชกาลที่ 2 (King Rama II Memorial Park)

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อยู่ติดกับวัดอัมพวันฯ และตลาดน้ำอัมพวา ลักษณะเป็นอาคารทรงไทยหลัง แบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ เช่น หอกลาง ภายในประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 2 และจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น เครื่องเบญจรงค์ เครื่องถ้วย หัวโขน ห้องชาย จัดแสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ มีพระพุทธรูปสำหรับบูชา รวมทั้งแท่นพระบรรทมซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ห้องหญิง แสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ชานเรือน จัดแสดงตามแบบบ้านไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ ห้องครัวและห้องน้ำ จัดแสดงลักษณะครัวไทยมีเครื่องหุงต้ม ถ้วยชามและห้องน้ำของชนชั้นกลาง

เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 8.7 km หรือ 15 นาที

 

ค่ายบางกุ้ง : Bang Kung Camp ค่ายบางกุ้ง (Bang Kung Camp)

ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที เมื่อมาถึงบริเวณค่ายจะมองเห็นแนวกำแพงจำลองสร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์จากการ สู้รบ ค่ายแห่งนี้เป็นค่ายทหารเรือไทยที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หลังจากเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้โปรดให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายที่ตำบลบางกุ้ง เรียกว่า ค่ายบางกุ้ง เนื่องจากเมืองแม่กลองเป็นเส้นทางที่กองทัพพม่าใช้ในการเดินทัพ โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่ายเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและ เป็นที่เคารพบูชาของทหาร พระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดให้คนจีนจากระยอง ชลบุรี ราชบุรีและกาญจนบุรีรวบรวมผู้คนมาตั้งเป็นกองทหารรักษาค่าย ค่ายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนี่งว่า “ค่ายจีนบางกุ้ง” พระองค์ทรงให้ชื่อทหารเหล่านี้ว่า “ทหารภักดีอาสา” ในปี พ.ศ. 2311 พระเจ้ากรุงอังวะทรงยกทัพผ่านกาญจนบุรี มาล้อมค่ายจีนบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชและพระมหามนตรี (บุญมา) ร่วมรบขับไล่กองทัพพม่าทำให้ข้าศึกแตกพ่าย นับเป็นค่ายทหารไทยที่สร้างความเกรงขามให้กองทัพพม่า สร้างขวัญกำลังใจให้คนไทยกลับคืนมา และเป็นสงครามครั้งแรกที่ไทยทำกับพม่าหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ค่ายบางกุ้งแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 200 ปี จนมาถึงปี พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตั้งเป็นค่ายลูกเสือขึ้น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระเจ้าตากสินมหาราช และได้สร้างศาลพระเจ้าตากสินไว้เป็นอนุสรณ์ โดยทำพิธียกศาลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ภายในบริเวณค่ายยังมีโบสถ์ที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ชาวบ้านเรียกว่า “โบสถ์หลวงพ่อดำ” มีลักษณะพิเศษคือ โบสถ์ทั้งหลังปกคลุมด้วยด้วยต้นไม้ถึงสี่ชนิด คือ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นไกร ต้นกร่าง ชาวบ้านเรียกว่าโบสถ์ปรกโพธิ์และไม่ไกลนักเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช

เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 12 km หรือ 24 นาที

 

อาสนวิหารแม่พระบังเกิด : The Church of the Virgin Mary อาสนวิหารแม่พระบังเกิด (The Church of the Virgin Mary)

โบสถ์นี้เป็นสถานที่สักการะอันศักดิ์สิทธิ์ของคริสต ชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) โดยบาทหลวงเปาโลซัลมอน มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ได้รับทุนสนับสนุนจากญาติพี่น้องของท่านในประเทศฝรั่งเศส คณะมิซซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส กรุงโรมและผู้ใจบุญในกรุงเทพฯ ใช้เวลาสร้างถึง 6 ปีจึงเสร็จสมบูรณ์ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิคของประเทศฝรั่งเศส ฉาบด้วยปูนตำ ภายในประดับด้วยภาพกระจกสีสวยงดงาม มีรูปปั้น ธรรมาสน์เทศน์ อ่างล้างบาป ขาเทียนลักษณะต่างๆ และรูปแกะสลักบรรยายเกร็ดประวัติในพระคัมภีร์คริสตศาสนา นับเป็นโบสถ์ที่มีความสวยงามไม่ไกลจากริมฝั่งแม่น้ำ การเข้าชมควรติดต่อขออนุญาตจากบาทหลวงผู้รับผิดชอบก่อนล่วงหน้า เพื่อติดต่อวิทยากรบรรยาย โทร. 0 3476 1347

เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 19 km หรือ 28 นาที

 

 

ดอนหอยหลอด : Don Hoi Lot ดอนหอยหลอด (Don Hoi Lot)

สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัด สมุทรสงคราม เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ทรายขี้เป็ด” ดอนหอยหลอดมีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 แห่ง แห่งแรก ได้แก่ ดอนนอก อยู่บริเวณปากอ่าวแม่กลอง เดินทางไปได้โดยทางเรือ ดอนใน อยู่ที่ชายหาดหมู่บ้านฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็ง และอีกแห่งคือ ชายหาดหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว สามารถเดินทางไปได้โดยทางรถยนต์ บริเวณสันดอนมีหอยอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ หอยหลอด หอยลาย หอยปุก หอยปากเป็ด หอยแครง แต่พบว่าหอยหลอดเป็นหอยที่มีจำนวนมากที่สุด จึงเป็นจุดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้หอยหลอดเป็นหอยชนิด 2 ฝา ตัวสีขาวขุ่น มีเปลือกคล้ายหลอดกาแฟ ฝังตัวอยู่ในเลน การจับหอยหลอด จะจับในช่วงน้ำลง โดยใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดก้านธูป จุ่มปูนขาว แล้วแทงลงไปในรูหอยหลอด หอยจะเมาปูนแล้วโผล่ขึ้นมาให้จับ ไม่ควรสาดปูนขาวลงบนสันดอน เพราะจะทำให้หอยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นตายหมด ช่วงเวลาเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวดอนหอยหลอด คือ ประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เพราะน้ำทะเลจะลดลงนานกว่าช่วงเวลาอื่น และสามารถมองเห็นสันดอนโผล่ขึ้นมา

เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 7 km หรือ 14 นาที

 

ตลาดน้ำท่าคา : Thaka Floating Market ตลาดน้ำท่าคา (Thaka Floating Market)

ตลาดช่วงเช้า ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา เป็นตลาดนัดทางน้ำที่ยังคงความเป็นธรรมชาติของวิถีชีวิตชาวบ้าน ซึ่งมีอาชีพทำสวนปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ชาวบ้านจะพายเรือนำผลผลิต พืชผักและผลไม้จากสวน เช่น พริก หอม กระเทียม น้ำตาลมะพร้าว ฝรั่ง มะพร้าว ชมพู่ ส้มโอมาขาย-แลกเปลี่ยนกัน เฉพาะในวันขึ้นหรือแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ 12 ค่ำ (ทุก ๆ 5 วัน) ตั้งแต่เวลาประมาณ 08.00 – 11.00 น.

เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 17.8 km หรือ 26 นาที

 

 

ตลาดร่มหุบ : Railway Fresh Market ตลาดร่มหุบ ตลาดริมทางรถไฟ (Railway Fresh Market)

ตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟแม่กลอง อำเภอเมือง ตลาดหุบร่มหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ตลาดเสี่ยงตาย หรือตลาดริมทางรถไฟ ตั้งขายอยู่ริมทางรถไฟใกล้สถานีรถไฟแม่กลอง ความยาวของตลาดประมาณ 100 เมตร บรรดาพ่อค้าแม่ค้าจะวางขายสินค้าบนพื้นจนติดกับรางรถไฟ เวลารถไฟมาก็ต่างหุบร่มที่กางและเก็บสินค้าภายในพริบตา จนเป็นที่มาของชื่อตลาดหุบร่มนั่นเอง สินค้าที่วางขายที่ตลาดแห่งนี้จะเป็นพวกผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ อาหารทะเลสด ๆ ขายกันในราคาไม่แพง จึงเป็นตลาดยอดนิยมของชาวบ้านบริเวณนั้นเพราะราคาถูกและคุณภาพดี ตลาดแห่งนี้เปิดขายทุกวันเวลา 6.00-18.00 น. เวลารถไฟวิ่งผ่านตลาดหุบร่ม วันละ 8 รอบ (โดยประมาณ) ดังนี้ 06.20, 08.30, 09.00, 11.10, 11.30, 14.30, 15.30 และ 17.40 น.

เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 1.6 km หรือ 4 นาที

 

 

 

แฝดสยาม อิน-จัน : Siamese Twin แฝดสยาม อิน-จัน (Siamese Twin)

สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่ฝาแฝดสยามอิน-จันที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยไปทั่วโลก ภายในบริเวณเป็นลานกว้างประดับด้วยต้นไม้ดอกไม้ อนุสรณ์แฝดสยามอิน-จันตั้งอยู่กลางลาน ด้านหน้ามีสระน้ำขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอาคารโถงจัดแสดงชีวประวัติของแฝดสยามอิน-จัน “แฝดสยามอิน-จัน” เกิดที่จังหวัดสมุทรสงครามเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 (ค.ศ. 1811) ประมาณปี พ.ศ. 2371-2372 (ค.ศ. 1828-1829) กัปตันคอฟฟินและฮันเตอร์เดินทางมาติดต่อการค้าที่แม่กลอง พบฝาแฝดคู่นี้จึงขอนำกลับไปอเมริกาและอังกฤษ เพื่อเปิดการแสดงในที่ต่างๆ เรื่องราวชีวิตของแฝดสยามอิน-จัน ฝาแฝดที่มีร่างกายท่อนบนติดกันและสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติยาวนานจน ถึงอายุ 63 ปี ได้รับการกล่าวขานทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในชื่อ “Siamese Twin”

เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 5 km หรือ 13 นาที

 

 

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร : Wat Phet Samut Worawiharn Temple วัดเพชรสมุทรวรวิหาร หลวงพ่อบ้านแหลม (Wat Phet Samut Worawiharn Temple)

หลวงพ่อบ้านแหลม ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อวัดบ้านแหลมเป็น พระพุทธรูปสำคัญองค์ หนึ่งของไทย ซึ่งไม่ได้เป็นแค่ศูนย์รวมศรัทธาและที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวแม่กลองแห่ง สมุทรสงครามเท่านั้น แต่ยังเป็นที่เคารพสักการะอย่างกว้างขวางของชาวไทยทุกสารทิศมานานนับสมัยจน ถึงกับมีคำกล่าวว่า หากไม่ได้มานมัสการหลวงพ่อวัดบ้านแหลมก็เสมือนมาไม่ถึงเมืองสมุทรสงคราม เชื่อกันว่าหากได้มาสักการะปิดทองหลวงพ่อบ้านแหลม แล้วจะช่วยเสริมอำนาจบารมีแก่ชีวิต บังเกิดแต่ความเป็นสิริมงคลสืบไป หากใครอธิษฐานของพรหลวงพ่อไว้ในเรื่องใดก็มักจะได้สมความปรารถนาและมักจะ กลับมาแก้บนหลวงพ่อด้วยละครรำ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่ท่านโปรดปราน

เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 1.8 km หรือ 5 นาที

 

 

บ้านครูเอื้อ…อัมพวา : Baan Kroo Uea Amphawa บ้านครูเอื้อ อัมพวา (Baan Kroo Uea Amphawa)

ก่อตั้งโดยมูลนิธิสุนทราภรณ์ โดยการนำอาคารไม้โบราณ ริมคลองอัมพวา อันเป็นถิ่นกำเนิดของครูเอื้อ สุนทรสนาน เมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงนิทรรศการประวัติผลงานของครูเอื้อ ศูนย์รวมข้อมูลสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจค้นคว้าเรื่องราวของเพลงสุนทราภรณ์ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เปิดให้แฟนเพลงเข้าไปนั่งฟังเพลง ค้นคว้า อ่านหนังสือ นอกจากนี้ยังแสดงของใช้ส่วนตัวของครูเอื้อ และภาพเก่า ๆ ที่หาชมได้ยาก รวมทั้งจำหน่ายของที่ระลึกและผลงานเพลงของครูเอื้อ สุนทรสนาน สถานที่แห่งนี้ยังนับเป็นส่วนหนึ่งใน “โครงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวอัมพวา” ของมูลนิธิชัยพัฒนา ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ อีกด้วย